หลังจากเกิดเหตุเด็กชาย 14 ปี ก่อเหตุยิงกลางห้างพารากอน เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา นอกจากการคำถามต่อการจำหน่ายและการครอบครองอาวุธปืนในประเทศไทยที่ควรควบคุมหรือไม่ จะถูกส่งต่อไปยังผู้มีอำนาจในรัฐบาลแล้ว สิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายเรียกร้องและอยากให้เห็นคือ ระบบแจ้งเตือนภัยแบบทันท่วงทีต่อเหตุภัยที่จะเกิดขึ้น
ว่าแต่วันนี้รัฐไทยพร้อมแค่ไหนกับการมี Emergency Alert เราจะพาไปหาคำตอบกันหลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นว่าแท้จริงแล้วใครคือผู้มีอำนาจสั่งการ และ Screen ชุดคำแจ้งเตือนในปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง
4 ต.ค. หลังจากเกิดเหตุการณ์ นายกรัฐมนตรีสั่งเรียกประชุมทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนเรื่องการแจ้งข้อมูลฉุกเฉินแก่ประชาชน ได้ข้อสรุปว่า ขณะนี้ กสทช.ได้จัดไทม์ไลน์ในการดำเนินการ ว่าจะต้อง ทำอะไรบ้าง เสนอต่อรมว.ดีอี เพื่อให้การทำงานในลักษณะ Emergency Alert System (EAS) ระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน และข้อความแจ้งเตือนจากรัฐบาล
แต่ติดปัญหาตรงที่ว่าองค์กรที่จะเข้าไปสั่งการแบบ Single Command การตัดสินใจยังแยกส่วนอยู่ในปัจจุบัน โดยข้อเท็จจริงคือ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ที่เคยสังกัดกระทรวงดีอีตอนนั้น วันนี้อยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย ระเบียบที่มีอยู่ในการสั่งการจึงไม่ชัดเจนว่าใครจะเป็นคนนำ ใครจะเป็นคนตาม เพราะคนที่ดูเหมือนจะมีอำนาจแต่แท้จริงแล้วไม่ได้กำกับดูแลโดยตรง ต้องใช้การบูรณาการ
อย่างเช่น เมื่อศูนย์ฯ จัดทำข้อมูลข้อความเตือนภัยไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ เหตุด่วนเหตุร้าย ปัญหาพีเอ็ม 2.5 หรืออื่นๆ แล้ว ก็จะเป็นหน้าที่ต่อไปของ กสทช.สั่งการกระจายข้อมูลไปยังโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการ แล้วถึงจะเกิดขึ้นแจ้งเตือนต่อไปได้ ลำพังกสทช. ไม่มีอำนาจที่จะเข้าไป Command แบบเบ็ดเสร็จได้
5 ต.ค. มีการทดสอบระบบ Emergency Mobile Alert หรือ ระบบการแจ้งเตือนภัย โดยผู้ให้บริการอย่าง AIS และทรู ได้ทดสอบระบบ LBS หรือ Location-Based Service เข้าสู่ระบบแล้วซึ่งได้ผลดี สามารถดำเนินการได้ทันที โดยจะการแจ้งเตือนเจาะจงเฉพาะพื้นที่นั้นๆ ไม่ใช่เป็นการแจ้งเตือนทั้งประเทศ
แต่ระบบดังกล่าวมีข้อเสียอย่างหนึ่งคือแม้จะสามารถดำเนินการได้ทันทีหากมีเหตุครั้งต่อไปเกิดขึ้นแต่ระบบ LBS ใช้เวลาประเมินผลนาน ก่อนที่จะมีการส่งข้อความไป ต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที ซึ่งอาจเป็นระยะสั้นได้แต่ไม่เหมาะกับสถานการณ์ในระยะยาว
ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาล กระทรวงดีอี และกสทช. กำลังดำเนินในขณะนี้คือ การเร่งพัฒนาการเตือนภัยแบบ Cell Broadcast System ซึ่งเป็นแบบ Push Notification ที่จะทำให้การเตือนเป็นแบบอัตโนมัติ เรียลไทม์ แม้ปิดเครื่อง ซึ่งคาดว่าจะพัฒนาระบบไปถึงขั้นใช้งานได้ภายในระยะเวลา 1 ปี หรืออย่างเร็วที่สุดภายใน 6 เดือน ซึ่งภายใต้ระบบนี้สามารถส่งข้อความเตือนเป็นล้านข้อความภายใน 10 วินาที
โดยสรุปแล้ววันนี้หากมีเหตุภัยร้ายอีกครั้งการแจ้งเตือนที่รัฐบาลสามารถทำได้เลยในระยะสั้นด้วยระบบ LBS ซึ่งเป็นการส่งข้อความเฉพาะพื้นที่เกิดเหตุ ขณะเดียวกันระบบที่กำลังพัฒนาอย่าง Cell Broadcast ต้องรอระยะเวลา 6 เดือน – 1 ปี ในการพัฒนา
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยืนยันแล้วว่าเป็นการทำอย่างเร่งด่วน Cutdown ขั้นตอนอุปสรรคของราชการทั้งหมดแล้ว เหลือแค่การ Synchronization จัดเรียงมาตรฐานของระบบให้มันเกิดขึ้นได้ แล้วสร้างระบบการสั่งการภายใต้การบูรณาการให้เกิดขึ้น
ปัญหาตอนนี้หลักๆ นอกจากระบบ คือประเทศไทยยังไม่มีการบริหารภัยพิบัติแบบ Single command อีกหรือ?