ส่องสถานการณ์การต่อต้านอเมริกาในเวียดนาม

ปีนี้เป็นปีครบรอบ 50 ปีที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากเวียดนาม และครบรอบ 10 ปีความเป็นหุ้นส่วนรอบด้านระหว่างสหรัฐฯ-เวียดนาม ปัจจุบัน เวียดนามเป็นหนึ่งในพันธมิตรระดับภูมิภาคชั้นนำของสหรัฐฯ เคียงข้างกับอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และบางประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก

ปัจจุบัน สหรัฐฯ เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของเวียดนาม รองจากจีน ขณะที่เวียดนามเป็นหนึ่งในคู่ค้า 10 อันดับแรกของสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีทิศทางขาขึ้น แต่รัฐบาลเวียดนามได้พยายามซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อเตือนพลเมืองของตนให้ตระหนักถึงจุดยืนทางอุดมการณ์ และผู้นำเวียดนามมี แทบจะพลาดโอกาสที่จะเร่ขายเรื่องเล่าต่อต้านชาวอเมริกันทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์

ผลการศึกษาหลายชิ้นเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่าชาวเวียดนามโดยทั่วไปมองสหรัฐฯในแง่บวก ในบรรดาชนชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้เชี่ยวชาญชาวเวียดนามสนับสนุนอิทธิพลของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้มากที่สุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่มองสหรัฐอเมริกาในทัศนคติที่ดี ในปี พ.ศ. 2565 เวียดนามกลายเป็นแหล่งที่มีนักเรียนไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกามากเป็นอันดับที่ 5 จากรายงาน “Open Doors” ที่เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยสถาบันการศึกษานานาชาติ การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาเวียดนามของนักศึกษาเวียดนามสร้างรายได้ประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์ให้กับเศรษฐกิจสหรัฐในแต่ละปี

หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นสัญญาณมากมายว่าทั้งสองฝ่ายกำลังเข้าหากัน สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในผู้บริจาควัคซีนรายใหญ่ที่สุดให้กับเวียดนาม เมื่อวันที่ 16 เมษายน รัฐบาลเวียดนามได้มอบหน้ากากที่ผลิตในเวียดนามจำนวน 200,000 ชิ้นแก่รัฐบาลและประชาชนของสหรัฐฯ นอกเหนือไปจากการบริจาคหน้ากากอนามัยอีก 50,000 ชิ้นแก่ทำเนียบขาวโดยนายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุกในขณะนั้น

ความสมานฉันท์ระหว่างเวียดนามและศัตรูเก่าไม่ได้ถูกมองข้ามในประเทศที่สาม นักการทูตอาวุโสที่มีฐานอยู่ในฮานอยจากประเทศที่ไม่ใช่ประเทศตะวันตกซึ่งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเวียดนามมายาวนาน ซึ่งปฏิเสธที่จะระบุชื่อในบทความนี้ กล่าวว่า ในช่วงที่เกิดโรคระบาด รัฐบาลเวียดนามให้ความสำคัญกับการมอบหน้ากากอนามัยเป็นของขวัญแก่ประเทศตะวันตก

“ทำไมรัฐบาลเวียดนามจึงไม่แจกหน้ากากอนามัยแก่มิตรสหายที่สนับสนุนพวกเขาในช่วงสงครามต่อต้านอเมริกา ดูเหมือนว่าพวกเขาจะลืมเพื่อนระยะยาวที่ต้องการไป” นักการทูตของเวียดนามกล่าวถึง

การยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ได้รับการหยิบยกขึ้นเป็นครั้งแรกโดยฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศในขณะนั้น ในระหว่างการเยือนกรุงฮานอยในปี 2553 และหลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ หลายคน รวมทั้งรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริสได้ย้ำเตือนตั้งแต่นั้นมา เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำเวียดนามที่พูดภาษาเวียดนาม Marc Knapper ก็พอใจกับโอกาสนี้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม วาระการประชุมของ พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม หรือ CPV ดูเหมือนจะไม่ได้ระบุถึงความใกล้ชิดสัมพันธ์มากนักกับสหรัฐฯ ซึ่งแสดงถึงลำดับชั้นความสำคัญทางการทูต  3 ระดับ จากความสำคัญมากไปยังลำดับรองลงไป คือ หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่คลอบคลุม หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ หุ้นส่วนที่ครอบคลุม โดยมี 17 ประเทศ เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เช่นเช่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ เยอรมนี เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น  

ขณะที่หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม 3 ประเทศ จีน รัสเซียและอินเดีย ขณะที่สหรัฐฯอยู่ในระดับของ “หุ้นส่วนที่ครอบคลุม” ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เวียดนามมอบให้กับเนเธอร์แลนด์ บรูไน ฮังการี เมียนมาร์ แคนาดา เดนมาร์ก ยูเครน อาร์เจนตินา ชิลี บราซิล เวเนซุเอลา และแอฟริกาใต้ เมื่อมองจากมุมหนึ่ง นี่เป็นการดูแคลนทางการทูตของวอชิงตันอยู่ไม่น้อย

และหลังการปะทุของสงครามรัสเซีย-ยูเครน เวียดนามเผชิญกับการคุกคามจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางทหารกับรัฐบาลมอสโก เนื่องจากอาวุธราวร้อยละ 80 ของฮานอยนำเข้ามาจากรัสเซีย เวียดนามพึ่งพารัสเซียในการนำเข้าอาวุธและปฏิบัติการด้านน้ำมันและก๊าซในทะเลจีนใต้ ฮานอยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่อย่างจีน

เป็นผลให้รัฐบาลกรุงฮานอยไม่อยากดำเนินความสัมพันธ์ที่จะทำให้รัสเซียไม่พอใจแม้จะมีแรงกดดันจากตะวันตกก็ตาม ในขณะเดียวกัน ก็พยายามรักษาการแลกเปลี่ยนระดับสูงกับรัฐบาลปักกิ่งอย่างสม่ำเสมอ ท่ามกลางความอหังการที่เพิ่มขึ้นของจีนในทะเลจีนใต้

ขณะเดียวกันเมื่อมาดูองค์ประกอบของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม หรือ CPV ฝ่ายที่สนับสนุนตะวันตกใน CPV ตั้งแต่การประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 12 ถูกครอบงำโดยฝ่ายปกครองที่สนับสนุนจีน เห็นได้จากการปลดรองนายกรัฐมนตรี Pham Binh Minh ซึ่งมีการศึกษาแบบตะวันตก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับ ปริญญาโทที่ Fletcher School, Tufts University และดำรงตำแหน่งนักการทูตระหว่างปี 2542 ถึง 2546 ในนิวยอร์ก

มิหนำซ้ำโครงการที่เน้นเรื่องเยาวชนที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ หลายโครงการถูกทำให้เป็นเรื่องวิพากษ์วิจารณ์ต่อสื่อในประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวส่วนหนึ่งของนโยบาย soft power รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ออกโครงการการศึกษาฟรีสำหรับเยาวชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยโครงการริเริ่มของผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (YSEALI) ก่อตั้งขึ้นโดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2556 และได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กลายเป็นเวทียอดนิยมสำหรับเยาวชนในประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อมีส่วนร่วมในประเด็นต่างๆ มากมาย รวมถึง ธรรมาภิบาล, การปกป้องสิ่งแวดล้อม, การพัฒนาเศรษฐกิจ, การศึกษาของพลเมือง ฯลฯ

โครงการ YSEALI ซึ่งมีทั้งโครงการภายในประเทศและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศที่จัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสหรัฐอเมริกาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ถูกมองด้วยความสงสัยในเวียดนาม หลังจากมีการออกบทความมาโดยนักศึกษาในประเทศชื่อ “กับดักของผู้นำ”

YSEALI ถูกอธิบายว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของ “ทฤษฎีวิวัฒนาการอย่างสันติ” โดยตั้งใจหรือจงใจปลูกฝังในแวดวงการศึกษาเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบสังคมนิยม จากบทความดังกล่าว ผู้เข้าร่วมโครงการ YSEALI ชาวเวียดนามอย่างน้อยสามคนถูกตั้งข้อหา “โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม” และ “ละเมิดเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยเพื่อละเมิดผลประโยชน์ของรัฐ… โดยมีจุดประสงค์เพื่อล้มล้างการปกครองของประชาชน ”

อย่างไรก็ตามการแถลงของ CPV มีตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับ “การสมรู้ร่วมคิดของจักรวรรดินิยม-ทุนนิยม” โดยระบุมีความเกี่ยวข้องและสะท้อนถึงเยาวชนที่มีการศึกษาสำหรับผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ คำเตือนของรัฐบาลเกี่ยวกับสหรัฐฯ นี้เองทำให้เยาวชนหัวกะทิบางคนตระหนักและวิพากษ์วิจารณ์สถานะของสหรัฐฯ และการใช้ผลประโยชน์แอบแฝงในโครงการแลกเปลี่ยนที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ โดยมีนักศึกษาคนหนึ่งอย่าง Cuong วัย 26 ปี กล่าวว่า

“พวกเขาเพียงต้องการอวดอำนาจและความมั่งคั่ง ความใจกว้าง และความเหนือกว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะยินดีต้อนรับเข้าสู่โปรแกรม YSEALI เฉพาะผู้ที่รู้ภาษาอังกฤษและหลงใหลในสิ่งอเมริกันเท่านั้น”

สำหรับเขาแล้ว สงครามต่อต้านอเมริกาที่นำโดยคอมมิวนิสต์ซึ่งปู่ย่าตายายและพ่อแม่ของพวกเขาเคยอาศัยอยู่ หรือที่รู้จักกันในต่างประเทศว่าสงครามเวียดนามนั้นทำหน้าที่ขับไล่ผู้รุกรานและปกป้องชาติของพวกเขา ชัยชนะเหนือชาวอเมริกันที่มีอำนาจทำให้ชาวเวียดนามรุ่นต่อรุ่นมีความรู้สึกเป็นตัวตน ความสนิทสนมกันของชาวนาที่ผันตัวเป็นทหารซึ่งเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันในช่วงสงครามเป็นสิ่งที่หาที่เปรียบมิได้ เพลงต่อต้านอเมริกันต้องแสดงทางทีวีเป็นประจำเพื่อเตือนผู้คนว่าเวียดนามเป็นผู้ชนะ

ความเจ็บปวดส่วนตัวของสงครามก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรลืมเช่นกัน ดังที่ Nick Turse อธิบายไว้ในหนังสือของเขาในปี 2013 เรื่อง “Kill Anything That Moves: The Real American War in Vietnam” การเสียชีวิตอย่างแพร่หลายของพลเรือนด้วยน้ำมือของทหารสหรัฐฯ ในเวียดนามนั้นไม่ได้เป็นผลพลอยได้จากความขัดแย้งทางอาวุธอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในบรรดาชาวเวียดนามเหนือ 65,000 คนและพลเรือนเวียดนามใต้ 3.8 ล้านคนที่เสียชีวิตระหว่างสงคราม หลายคนถูกฆาตกรรมตามความเป็นจริง ดังนั้น ภาพลักษณ์ของชาวอเมริกันในฐานะผู้รุกรานที่โหดร้ายจึงยังไม่จางหายไปในเวียดนาม

สุดท้ายรอยแผลเป็นของสงครามเวียดนามฝังลึกเป็นเวลานานหลังจากการยิงหยุดง และสำหรับชาวเวียดนามแล้ว ต่อประเด็นความจริงใจของสหรัฐฯ ความไม่ไว้วางใจที่ยังคงอยู่นี้ไม่ได้เกิดกับผู้นำระดับสูงของประเทศกลุ่มเดียวเท่านั้นแต่ประชาชนในประเทศยังรู้สึกและสัมผัสได้ถึงการมาของสหรัฐฯในครั้งนี้