“ในช่วงทศวรรษที่ 1990 อินเดียได้ริเริ่มนโยบาย “มองตะวันออก” ซึ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ที่แน่นแฟ้นกับประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนนี้อินเดียดูเหมือนจะดำเนินนโยบายที่คล้ายกันโดยมองไปทางตะวันตกด้วยพร้อมๆกัน อันเนื่องด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์”
การเข้าไปมีส่วนร่วมของอินเดียต่อเหตุแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดในตุรกีและซีเรียสะท้อนถึงนโยบายการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในตะวันออกกลาง ตามการเยือนอินเดียของประธานาธิบดีอียิปต์ อับเดล ฟาเตห์ เอล-ซีซี และการขยายความสัมพันธ์กับอิสราเอลและประเทศอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย ประกอบกับความสัมพันธ์อันยาวนานกับอิหร่าน
และการดำเนินนโยบายของอินเดียต่อตุรกี อิสราเอล และรัฐอาหรับทำให้อินเดียเป็นตัวแสดงที่มีความสำคัญในตะวันออกกลางในช่วงเวลาที่สหรัฐฯ ดูเหมือนจะลดขนาดตำแหน่งของตนลงในภูมิภาคนี้
อินเดียนั้นมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับภูมิภาคตะวันออกกลางตั้งแต่ได้รับเอกราชเป็นต้นมา แต่การกำหนดทิศทางอย่างจริงจังแข็งขัยดูเหมือนจะเพิ่งเปลี่ยนไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และสะท้อนถึงความตั้งใจของอินเดียที่จะเป็นมหาอำนาจในโลกหลายขั้วแห่งนี้
ความช่วยเหลือของอินเดียสำหรับตุรกีและซีเรียเป็นส่วนหนึ่งของความตั้งใจนี้ที่พยายามแสดงถึงการเป็นประเทศแรกในให้ความช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ใกล้เคียงที่กว้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลสนาม ทีมแพทย์พร้อมกับเครื่องจักร ยา และเตียงในโรงพยาบาล นี่จึงไม่ใช่แสดงให้เห็นเพียงแค่ด้านมนุษยธรรม แต่เป็นกลยุทธ์ทางการเมืองในการเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของอินเดียในตะวันออกกลาง
สำหรับตะวันออกกลางนั้นเป็นแหล่งการลงทุน พลังงาน และการส่งเงินกลับที่สำคัญสำหรับอินเดีย ภูมิภาคนี้ยังมีความกังวลด้านความมั่นคงของอินเดียเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับลัทธิอิสลามิสต์สุดโต่งและการก่อการร้าย
อินเดียพยายามชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมของพวกเขากับตะวันออกกลางย้อนหลังไปกว่า 2,000 ปี และความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างผู้นำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดียกับขบวนการต่อต้านอาณานิคมในภูมิภาคนี้ ในช่วงสงครามเย็น ทั้งนี้ประเทศในตะวันออกกลางส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งก่อตั้งโดยอินเดียและอียิปต์
ความสัมพันธ์ปัจจุบันของอินเดียกับภูมิภาคตะวันออกกลางถือได้ว่าเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
ชาวอินเดียประมาณ 8.9 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศแถบอ่าว มีประมาณ 3.4 ล้านคนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ 2.5 ล้านคนในซาอุดีอาระเบีย ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของเงินส่งกลับกว่า 80,000 ล้านดอลลาร์ของอินเดียต่อปีมาจากประเทศแถบอ่าวนี้
และการค้าและการลงทุนระหว่างอินเดียและประเทศในตะวันออกกลางเติบโตขึ้นอย่างทวีคูณในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่นการค้า ทวิภาคีของอินเดีย กับอียิปต์อยู่ที่ 7.26 พันล้านดอลลาร์ โดยมีบริษัทอินเดียกว่า 50 แห่งลงทุน 3.15 พันล้านดอลลาร์ในเศรษฐกิจอียิปต์
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นคู่ค้าระดับโลกที่ใหญ่เป็นอันดับสามของอินเดีย นับตั้งแต่การลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม (CEPA) ในปี 2565 การค้าของอินเดียกับสหรัฐอาหรับเอมิ เรตส์เพิ่มขึ้นกว่า 38 เปอร์เซ็นต์เป็น88 พันล้านดอลลาร์ ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ของอินเดียกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นหัวใจสำคัญของ I2U2
ในทำนองเดียวกัน ซาอุดีอาระเบียเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสี่ของอินเดีย และเป็นแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบร้อยละ 18 ของอินเดีย การลงทุนของซาอุดีอาระเบียในโครงสร้างพื้นฐานของอินเดีย เช่น ทางรถไฟ ถนน ท่าเรือ และการขนส่ง กำลังเติบโต เช่นเดียวกับการลงทุนในภาคการผลิตและดิจิทัลของอินเดีย
การนำเข้าน้ำมันและก๊าซของอินเดีย ร้อยละ 80 นำเข้าพลังงานร้อยละ 60 จากประเทศแถบอ่าว และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เองก็เข้ามาช่วยอินเดียในการจัดการกับข้อกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานโดยการสนับสนุนน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ ของอินเดีย นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างอินเดียและประเทศในตะวันออกกลางยังได้เติบโตขึ้นในด้านแหล่งพลังงานหมุนเวียนอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ดีของอินเดียไม่เพียงแต่เกิดขึ้นประเทศในอ่าวอาหรับเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอิสราเอล ตุรกี และอิหร่านด้วย โดยอิสราเอลเป็นหนึ่งในสามอันดับแรกของผู้จัดหายุทโธปกรณ์ป้องกันให้กับอินเดีย โดยร้อยละ 43 ของการส่งออกอาวุธ ของอิสราเอล ถูกขายไปยังอินเดีย ในขณะเดียวกัน อินเดียก็ระมัดระวังที่จะไม่ทำลายความสัมพันธ์กับอิหร่าน แม้จะมีความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ก็ตาม
ที่มา The diplomat