โพล หนุนพรรคเล็กมี ส.ส.ในสภาเหมือน เลือกตั้งปี 62 มากกว่าชนะแลนด์สไลด์

นิด้าโพล เผย คนไทยหนุนพรรคเล็กมี ส.ส.ในสภาเหมือนเลือกตั้งปี 62 มากกว่าพรรคใหญ่ชนะแลนด์สไลด์

เมื่อวันที่ 3 เม.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “โอกาสพรรคเล็ก หรือโอกาสแลนด์สไลด์ (Landslide)” เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ในการให้โอกาสพรรคเล็กได้มี ส.ส. ในสภา หรือการเปิดโอกาสให้มีพรรคการเมืองชนะเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ (Landslide)

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ควรเปิดโอกาสให้พรรคเล็กได้มี ส.ส. ในสภา แบบเดียวกับการเลือกตั้ง ในปี 2562 ที่ผ่านมา พบว่า

ร้อยละ 47.79 ระบุว่า เห็นด้วยมาก

ร้อยละ 30.97 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย

ร้อยละ 14.54 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย

ร้อยละ 5.71 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย

และร้อยละ 0.99 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ควรทำให้การชนะการเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ (Landslide) (ได้เสียง ส.ส. เกินครึ่งหนึ่งของสภา) เกิดขึ้นได้ยาก พบว่า

ร้อยละ 34.78 ระบุว่า เห็นด้วยมาก

ร้อยละ 26.03 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย

ร้อยละ 16.82 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย

ร้อยละ 16.21 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย

และร้อยละ 6.16 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนจะเลือกระหว่าง การให้โอกาสพรรคเล็กได้มี ส.ส. ในสภา หรือการเปิดโอกาสให้มีพรรคการเมืองชนะเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ (Landslide) พบว่า

ร้อยละ 58.68 ระบุว่า การให้โอกาสพรรคเล็กได้มี ส.ส. ในสภา

ร้อยละ 35.46 ระบุว่า การเปิดโอกาสให้มีพรรคการเมืองชนะเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ (Landslide)

และร้อยละ 5.86 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.75 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.72 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.42 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.56 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.86 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.14 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.01 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 12.48 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 20.25 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 34.93 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 26.33 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.97 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.66 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.91 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.46 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 23.67 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.14 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.89 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่าง ร้อยละ 28.54 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 32.27 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.99 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.51 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.16 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.98 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.61 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.99ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.30 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.46 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.92 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.21 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 20.02 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.81 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.89 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.33 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 6.77 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.11 ไม่ระบุรายได้