เปิดที่มา “ตำรวจศีลธรรม” ชนวนเหตุการณ์ ประท้วงในอิหร่าน

เปิดที่มา “ตำรวจศีลธรรม” ชนวนเหตุการณ์ ประท้วงในอิหร่าน

ในวันที่ 16 กันยายน หลังจาก Mahsa Amini หญิงชาวอิหร่านอายุ 22 ปี เสียชีวิตหลังจากถูกชายผู้เรียกตนว่า เป็นตำรวจศีลธรรมของประเทศทุบตีจนนำมาสู่การเสียชีวิตของเธอในเวลาต่อมา

เหตุการณ์นี้เสมือนการปลดพนังคลื่นกระแสชนผู้อยู่ใต้อาณัติของโคมัยนี (Ayatollah Khomeini) มานานออกมาสู่บนท้องถนน สั่นคลอนอำนาจของผู้นำคนปัจจุบันมาอย่างต่อเนื่อง

เหตุการณ์ครั้งนี้มีทั้งผู้บาดเจ็บและสูญเสียในเวลาเดียวกัน มีรายงานว่าภายในวันอาทิตย์ของสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 41 คน แม้ทางการจะออกมาปฏิเสธตัวเลขดังกล่าวแต่ก็มีรายงานจากหน่วยงานสาธารณะอื่นๆ อย่างองค์กรสิทธิมนุษยชนว่า จนถึงขณะนี้ มีผู้เสียชีวิต อย่างน้อย 185 คน ซึ่งถูกปฏิบัติการโดยกองกำลังความมั่นคง โดยหนึ่งในนี้มีเด็ก 19 คน

กรณีของ Amini มีรายงานว่าความผิดของเธอคือการสวมฮิญาบ หลวม และไม่เรียบร้อยไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา จำเป็นที่ตำรวจศีลธรรมเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายของรัฐบาล แล้วพวกเขาเป็นใคร และสะท้อนถึงคำสอนของศาสนาอิสลามหรือไม่?

แม้ “อัลกุรอาน” จะกำชับชาวมุสลิมให้ “ปฏิบัติตามและห้ามมิให้ประพฤติตนนอกหลักศาสนา” หรือเรียกว่า Hisbah แต่กระนั้นก็ไม่มีตำรวจศีลธรรมในอิสลามขึ้นมาบังคับอย่างจริงจัง เพราะถือเป็นหน้าที่ส่วนตัวของบุคคลที่จะปฏิบัติ

ในยุคแรก ของศาสดานบีมูฮัมหมัด ศีลธรรมของสาธารณะถูกควบคุมโดย Muhtasib หรือผู้ตรวจตลาด ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาลเพื่อป้องกันการฉ้อโกงและปกป้องพ่อค้าที่เดินทาง (หนึ่งในผู้ได้รับการแต่งตั้งแรก ที่มูฮัมหมัดเลือกคือเมืองมะดีนะฮ์และเป็นสตรี)

.

จนกระทั่งเวลาผ่านมาหลายศตวรรษ Muhtasib มีความรับผิดชอบต่อมาตรฐานทางศีลธรรมมากขึ้น รวมทั้งการแต่งกายของผู้หญิงด้วย มีบันทึกบางฉบับของมุตตะสิบที่ออกค่าปรับเฉพาะจุดและกระทั่งทำการเฆี่ยนตี แต่ก็ไม่ถึงกับขนาดกองกำลังตำรวจสมัยใหม่ในปัจจุบัน

ต่อมาหลังระบบกฎหมายอิสลามแบบดั้งเดิมถูกรบกวนด้วยการเปลี่ยนอาณาจักร และการล่าอาณานิคมโดยประเทศตะวันตกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 แม้ muhtasib ได้หายไปในยุคนี้ แต่ในซาอุดิอาระเบีย การรักษาศีลธรรมได้รับภายใต้อิทธิพลของลัทธิวะฮาบี ซึ่งเป็นขบวนการที่เคร่งครัดในศาสนาอิสลามนิกายซุนหนี่ ยังคงปรากฏกองกำลังตำรวจศีลธรรมสมัยใหม่ ประกอบกับคณะกรรมการควบคุมความถูกต้องและห้ามมิให้ทำผิด ก่อตั้งขึ้นในปี 1926

และในปี 2012 หนึ่งในสามของประเทศในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางมีตำรวจทางศาสนาออกมาคุมกฎต่อเนื่องและมีทิศทางขยายตัวไปยังมาเลเซียและอาเจะห์ ในอินโดนีเซีย โดยแต่ละที่ก็มีอำนาจและหน้าที่แตกต่างกันไป

สำหรับอิหร่านเกิดตำรวจศีลธรรมอีกครั้งหลังการมาถึงของการปฏิวัติในปี 1929 อยาตอลเลาะห์ โคมัยนี (Ayatollah Khomeini) นักบวชนิกายชีอะห์ผู้เคร่งครัดศาสนาขึ้นสู่อำนาจเป็นผู้นำสูงสุด พยายามควบคุมพฤติกรรมของประชาชนและลบภาพตะวันตกซึ่งราชวงศ์ปาลาห์วีพยายามฝ่าฝืน

หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้ง กองกำลังทางศีลธรรมอย่างเป็นทางการขึ้นในปี 2005 เรียกว่า Guidance Patrols มีเจ้าหน้าที่หลายพันคนโดยมีสัดส่วนผู้ชายเป็นหลัก จากปี 2005 ถึงมีนาคม 2014 ตำรวจศีลธรรมรายงานว่า ผู้หญิงเกือบ 3 ล้านคนทำผิดหลัก Hisbah ด้วยการที่ไม่สวมฮิญาบอย่างถูกต้อง

จากการที่ Amini ถึงแก่กรรม เจ้าหน้าที่ตำรวจด้านศีลธรรมของอิหร่านได้ก่อให้เกิดความโกรธเคืองของประชาชนในประเทศอย่างต่อเนื่อง 2002 เด็กหญิงซาอุดิอาระเบีย 15 คนถูกไฟคลอกเสียชีวิตที่หลังจากตำรวจศีลธรรมป้องกันไม่ให้พวกเขาหนีไฟเพราะพวกเขาไม่ได้สวมอาบายะห์ และเหตุการณ์การเสียชีวิตของหนุ่มสาวชาวซาอุดิอาระเบียที่หลบหนีการจับกุมของตำรวจศีลธรรมจนมาสู่อุบัติเหตุบนท้องถนน

สิ่งเหล่านี้ถูกพูดถึงและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนในปี 2016 ตำรวจศีลธรรมถูกลดอำนาจในการจับกุมแต่กระนั้นก็มิได้ลดความรุนแรงและสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ถูกกระทำแม้แต่น้อย ในขณะที่ตอนนี้การประท้วงในอิหร่านยังคงดำเนินต่อไป คลื่นการเปลี่ยนแปลงกำลังมาถึงอิหร่านอีกระลอก แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลแทบไม่อยากที่จะปฏิรูปและมองว่าผู้ประท้วงเป็นแค่เพียง “อาชญากร” ที่ทำลายความมั่นคงของรัฐ

ที่มา

– The Economist, Who are Iran’s hated morality police?, https://www.economist.com/the-economist-explains/2022/09/26/who-are-irans-hated-morality-police