ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 41 ปีในเดือนธ.ค. จากข้อมูลเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่งสัญญาณกดดันเศรษฐกิจมากขึ้นจากราคาที่สูงขึ้น และธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาทางการญี่ปุ่นได้ออกประกาศอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นแตะระดับสูงสุดในรอบ 41 ปีในเดือนธันวาคม เนื่องจากปัจจัยหลักในต้นทุนการนำเข้าอาหารและเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น
โดยดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก ซึ่งไม่รวมอาหารสด เพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจาก 3.7% ในเดือนพฤศจิกายน อ้างจากกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร ตัวเลขของเดือนที่แล้วเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2524 ราคาไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 21.3% ในขณะที่ธัญพืชเพิ่มขึ้น 9.6%
ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคเมื่อเทียบกับปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 2.3%
การเพิ่มขึ้น 4% ในเดือนธันวาคมหมายความว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นได้ทะลุเป้าหมายการรักษาเสถียรภาพราคาของธนาคารกลางประเทศญี่ปุ่นหรือ BOJ ที่ 2% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 แล้ว
ขณะที่ธนาคารกลาง ยังคงนโยบายการเงินแบบ Ultra-Loose Monetary Policy ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งล่าสุด โดยรัฐบาล Haruhiko Kuroda กล่าวว่าจะมุ่งเป้าไปที่การบรรลุเป้าหมายราคาอย่างยั่งยืนและมั่นคงในลักษณะที่มาพร้อมกับการขึ้นค่าจ้าง
BOJ กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะชะลอตัวลงไปจนถึงกลางปีงบประมาณ 2566 ซึ่งจะเริ่มในเดือนเมษายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการของรัฐบาลในการจำกัดราคาพลังงาน ธนาคารคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคหลักที่ 1.6% ในปีงบประมาณ 2566
ในขณะเดียวกัน บริษัทสาธารณูปโภคหลักของประเทศ เช่น บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ โฮลดิงส์ (เทปโก) กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่าพวกเขาจะลดค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนมกราคม ซึ่งสะท้อนถึงการสนับสนุนของรัฐบาลในเรื่องต้นทุนพลังงาน
“อัตราเงินเฟ้อแตะ 4% ในเดือนธันวาคม แต่เนื่องจากการอุดหนุนด้านพลังงานของรัฐบาล เราคาดว่ามันจะลดลงเหลือประมาณ 3% ในเดือนมกราคม และต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่นในช่วงกลางปี” Darren Tay นักเศรษฐศาสตร์จาก Capital Economics ให้ความเห็น
อย่างไรก็ตามใน บริษัทต่างๆ ในประเทศกลับไม่เป็นเช่นนั้นมีรานงานเปิดเผยว่า บริษัทต่างๆ กำลังวางแผนที่จะขึ้นราคาผลิตภัณฑ์อาหารประมาณ 7,100 รายการระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ตามการสำรวจในเดือนธันวาคมโดยบริษัทวิจัย Teikoku Databank ซึ่งครอบคลุมผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ 105 ราย
บริษัทวิจัยกล่าวว่าต้นทุนด้านโลจิสติกส์และแรงงานที่สูงขึ้น รวมถึงค่าเงินเยนที่อ่อนค่า เป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ราคาสูงขึ้น