หลังมีการเปิดเผยข้อมูลจากรัฐบาลเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประเทศญี่ปุ่น บ่งชี้แนวโน้มเศรษฐกิจทั่วประเทศ เพิ่มขึ้น 4.3% ในเดือนม.ค. จากปีก่อนหน้า ซึ่งเกินเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่นเป็นเดือนที่แปดติดต่อกัน
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของดัชนีดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากค่าอาหารและเชื้อเพลิงเป็นส่วนใหญ่ แล้วกระทบไปยังสินค้าในวงกว้าง จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) อยู่ภายใต้แรงกดดันให้ยุติโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ เพื่อจ้างงานในช่วงนี้
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งไม่รวมอาหารสดแต่รวมเชื้อเพลิง สูงกว่าค่ากลางที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 4.2% และถือเป็นการเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดเมื่อเทียบเป็นรายปีนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2524 ตามหลัง 3.9% เพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม
และดัชนีราคาเงินเฟ้อพื้นฐาน ไม่รวมเชื้อเพลิงและอาหารสด เพิ่มขึ้น 3.0% ในเดือนมกราคม เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นจาก 2.7% รายปีในเดือนธันวาคม
อย่างไรก็ตาม BOJ คงนโยบายการเงินแบบแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) ในการประชุมวันนี้ สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด แต่สวนทางกับธนาคารกลางอื่น ๆ ทั่วโลกที่พากันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อแต่ก็ได้เพิ่มการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในประมาณการรายไตรมาสใหม่ เนื่องจากบริษัทต่างๆ ยังคงส่งต่อต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นไปยังครัวเรือน
ทั้งนี้ ผู้ว่าการแบงค์ชาติ ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ซึ่งจะสิ้นสุดวาระในเดือนเมษายน ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการคงนโยบายการเงินไว้อย่างเข้มงวดจนกว่าค่าจ้างจะสูงขึ้น โดยเปลี่ยนอัตราเงินเฟ้อที่ผลักดันต้นทุนให้เป็นอัตราเงินเฟ้อที่ขับเคลื่อนโดยอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่ง