คารม เย้ย พิธา อาการโคม่า

วันที่ 7 มิ.ย.66 นายคารม พลพรกลาง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และอดีตผู้สมัคร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคภูมิใจไทย แสดงความเห็นกรณีหุ้น ITV ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ดังนี้


ในฐานะคนเคยถูกตรวจสอบจากศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อครั้งเป็น ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ ว่าเป็น ส.ส.ที่ถือหุ้นสื่อหรือไม่ และได้ยื่นคำแก้ข้อกล่าวด้วยตนเอง ไม่ได้ให้ทนายที่ไหนทำให้ และไม่ได้ใช้ทนายพรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้น “สุดท้ายก็ชนะคดี ในศาลรัฐธรรมนูญ” เพราะบริษัทฯ ที่มีอยู่นั้นไม่ได้ประกอบธุรกิจด้สนสื่อสารมวลชน


วันนี้กลับมาเป็นนักกฎหมาย “ไม่ได้อยากมีแสงอะไร “ เพราะอยู่แต่บ้านนอก ความมืดก็ทำให้มีสมาธิดี และมีความสุขตามอัตภาพ “ในฐานะประชาชน”


ขอแสดงความคิดเห็นในประเด็นของ” หัวหน้าพรรคก้าวไกล “ว่าคุณสมบัติของคุณพิธาฯ นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญของคนที่จะเป็นสส. หรือเป็นนายก ฯ ว่าห้ามไม่ให้ถือหุ้นสื่อหรือไม่


ข้อกฎหมาย นั้นชัดเจน ส.ส. หรือแคนดิเดต นายกฯ ที่มาจากสส.นั้นถือหุ้นสื่อไม่ได้


เพราะฉะนั้น มีเพียงข้อเท็จจริงเท่านั้น ที่จะต่อสู้กันต่อไป ว่า“ไอทีวีเป็นสื่อ และประกอบกิจการสื่ออยู่หรือไม่ ส่วนเรื่องถือหุ้นของคุณพิธาฯ น่าจะไม่มีอะไรซับซ้อน


เมื่อ” ไอทีวี “เป็นสื่ออยู่แล้ว ใครๆ ก็ทราบดีประเด็นจึงมีเพียงว่า “ไอทีวียังประกอบกิจการอยู่ไหม และกรณีที่ยังฟ้องร้องกันอยู่นั้น มีประเด็นคืออะไร ถ้ามีประเด็นว่าไอทีวียังเป็นสื่อ และรัฐบาลปิดไอทีวีไม่ได้ และยังไม่ปิดบริษัท แม้ไปทีวีไม่ได้ออกอากาศ จะถือว่าเป็นบริษัทที่ยังประกอบกิจการสื่ออยู่หรือไม่


ในประเด็นเรื่อง ส.ส.จะถือคุณสมบัติเกี่ยวกับการถือหุ้นสื่อ ขณะลงสมัคร


สส. ส่วนคุณสมบัติของคนจะเป็นนายกฯ นั้น จะถือขณะถูกเสนอชื่อเป็นนายก หรือขณะถูกเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายก ฯ อันนี้ก็น่าสนใจ


การที่คุณพิธา โอนหุ้นให้ทายาทคนอื่นไปแล้วในขณะนี้นั้น แสดงว่าเขาไม่มั่นใจในเรื่อง คุณสมบัติของตนเองขณะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสส.ว่าจะชนะไหม “เกี่ยวกับการถือหุ้นสื่อ “


แต่เมื่อมีการโอนหุ้นออกไปแล้วในขณะนี้ จึงอาจพอที่จะเอาไว้สู้ตอนถูกเสนอชื่อเป็น” นายกรัฐมนตรี” ได้ว่าโอนหุ้นไปแล้ว คุณสมบัติจึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งไม่นานศาลรัฐธรรมนูญคงวินิจฉัย


สำหรับผมดูข้อกฎหมายแล้ว เขาดูตอนเสนอชื่อตอนเสนอเป็นแคนดิเดตเป็นยก โอนไปก็ไร้ผล อาการโคม่า มีข้อน่าคิดอีกว่า รู้มาตั้งนาน ตั้งแต่ปี 2562 แล้วว่าถือหุ้นสื่อทำไม ไม่ทำให้เรียบร้อยก่อนสมัคร
ส.ส.


มีข้อน่าคิดคือ สำหรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะผูกพันทุกองค์กรตามกฎหมาย เอาไว้อ้าง เอาไว้ต่อสู้ได้ แต่คำพิพากษาศาลฎีกานั้น ไม่ได้ผูกพันองค์กรไหน ผูกพันเฉพาะคู่ความ