เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leave No One Behind) ไม่ได้มีไว้สำหรับประเทศที่ไม่ยอมปรับตัว…
ขีดเส้นใต้ภายใต้ประโยคต่อสถานการณ์ในภูมิภาคอาเซียนที่เกิดขึ้น หลายประเทศจ่อมุ่งผลักดันประเทศเข้ามาลงทุนโดยตรง (FDI) ปลุก ผลักดันพื้นที่ศักยภาพ สร้างเนื้อให้หอมรอพร้อมบรรษัทใหญ่มาลงทุน
สิ่งที่ควรพิจารณามากกว่าการรอให้พร้อม คือ เราต้องปรับตัวพัฒนาศักยภาพธุรกิจภายในให้พร้อมโอบรับเม็ดเงินลงทุนอย่าง VC (Venture Capital Fund) เช่นเดียวกัน ธุรกิจสตาร์ทอัพอธิบายโมเดลนี้ให้เห็นได้เป็นอย่างดี
และเพื่อจะเป็นคำตอบว่า ‘ใครเผลอทิ้งเรา หรือ เราเผลอทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ ข้อมูลจาก DealstreetAsia แสดงการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพยูนิคอร์นในปี 2013 จนถึงปัจจุบัน พบว่า
ปี 2013 สิงคโปร์ผุดธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่าง ลาซาด้า แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ก้าวขึ้นสู่ยูนิคอร์นในช่วงเวลาไม่กี่ปี
ต่อมาให้หลัง 2014 สิงคโปร์นำบรรษัทข้ามชาติอย่าง GRAB แพลตฟอร์มผู้ให้บริการเรียกรถโดยสาร และเดลิเวอรีรายใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ยูนิคอร์นอีกราย ขณะที่เวียดนามไม่น้อยหน้าดัน VNG Corporation สตาร์ทอัพธุรกิจเกมขึ้นแท่นเช่นเดียวกัน
ปี 2015 สิงคโปร์นำธุรกิจเกมอย่าง Razer และ Garena ธุรกิจออกแบบ พัฒนา จำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค บริการทางการเงิน และฮาร์ดแวร์เกมเข้าสู่ตลาด
ขณะที่ปี 2016 อินโดนีเซียนำ Gojek ธุรกิจด้านการขนส่ง ต่อเนื่องด้วย bugalapak ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ Traveloka แพลตฟอร์มจองตั๋วและที่พัก และ Tokopedia แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์แบบ C2C ในปี 2017
ในปี 2018 One champion ship ธุรกิจสื่อบันเทิงกีฬาอย่างทั้ง MMA, มวยไทย, คิกบ็อกซิ่ง สัญชาติสิงคโปร์ ก้าวสู่สตาร์ทอัพหลายร้อยล้านในชั่วพริบตา
ปี 2019 Quest Global จากสิงคโปร์ JD.ID ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจากอินโดนีเซีย Bigo Live จากสิงคโปร์ OVO ธุรกิจฟินเทคจากอินโดนีเซีย Acronis และ Trax จากสิงคโปร์ขึ้นสู่ตลาด ต่อเนื่องมาในปี 2020 Nanofilm จากสิงคโปร์ VNLife จากเวียดนาม JustCo ธุรกิจ Co-working space จากสิงคโปร์ GoPay จากอินโดนีเซีย HyalRoute ธุรกิจเครือข่ายการสื่อสาร จากสิงคโปร์ เข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาด
ปี 2021 ปีทองของสตาร์ทอัพในอาเซียน ฟิลิปปินส์มี Mynt ธุรกิจด้าน FinTech ไทยมี Flash express ธุรกิจด้านการขนส่ง Ascend Money ธุรกิจฟินเทค
ขณะที่มาเลเซียมี Airasia move แพลตฟอร์มการเดินทาง Carsome แพลตฟอร์มขายรถมือสอง และเวียดนามมี MoMo ธุรกิจฟินเทค Sky Mavis ผู้สร้างเกม Axie Infinity
ส่วนสิงคโปร์มีสตาร์ทอัพยูนิคอร์น 9 ราย คือ Carro แพลตฟอร์มซื้อ-ขายรถยนต์มือสอง Ninja Van ผู้ให้บริการด้านการขนส่ง PatSnap แพลตฟอร์มค้นสิทธิบัตร Bolttech โบรกเกอร์ประกันภัยออนไลน์ Matrixport ผู้ให้บริการด้านคริปโต Nium แพลตฟอร์มผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระหว่างประเทศ Advance.ai ธุรกิจบริการด้านฟินเทค Emeritus ผู้ให้บริการโปรแกรมด้านการศึกษา Carousell แพลตฟอร์มซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ และ Property Guru แพลตฟอร์มให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์
อินโดนีเซียมีสตาร์ทอัพยูนิคอร์น 7 ราย Ajaib แพลตฟอร์มการลงทุนซื้อ-ขายหุ้น Xendit ผู้ให้บริการด้านธุรกรรมทางการเงินดิจิทัล YCombinator ยูนิคอร์นการชำระเงิน B2B ของอินโดนีเซีย Tiket.com ตัวแทนท่องเที่ยวที่ให้บริการผ่านระบบออนไลน์ J&T Express บริการธุรกิจขนส่งพัสดุด่วนทั่วประเทศ Kopi Kenangan สตาร์ทอัพร้านกาแฟ และ blibli แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
ปี 2022 มีสตาร์ทอัพยูนิคอร์น 8 ราย โดยมาจาก 3 รายคือ Kredivo ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสินเชื่อออนไลน์ DANA ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มกระเป๋าเงินดิจิทัล และ Akulaku อีคอมเมิร์ซ-สินเชื่อดิจิทัลในอินโดฯ
สิงคโปร์มี 3 รายคือ Coda Payments ผู้ให้บริการการชำระเงินออนไลน์จากสิงคโปร์ Biofourmis ผู้ให้บริการระบบดิจิทัลเพื่อการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคลจากสิงคโปร์ และ Insider ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ด้านการตลาดจากสิงคโปร์ส่วนไทยมีไลน์แมน-วงใน และฟิลิปปินส์มี Voyager ผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัล
และจากไทย คือ LINE MAN Wong Nai ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนดีมานด์และข้อมูลร้านอาหารไทย
และปีสุดท้าย 2023 มีมาจากสิงคโปร์และอินโดนีเซีย อย่างละราย คือ eFishery ธุรกิจสายเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำจากอินโดนีเซีย และ Silicon Box ธุรกิจด้านเซมิคอนดักเตอร์