เดือด! “จตุพร” ฟาด! ตระบัดสัตย์ ยังมีหน้าการันตี’ไม่เสียดินแดน’

  • “จตุพร” ฟาดการเมืองต้มตุ๋น หลอกลวงอุดมการณ์
  • ลั่นแค่คำพูดตัวเองยังกล้าตระบัดสัตย์ ยังมีหน้าการันตีจะไม่เสียดินแดน
  • ซัดทำเป็นอวดดีผูกขาดรักชาติ

(31 ต.ค.67) นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ เย้ยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ออกอาการเร่งรีบทำโครงการสุ่มเสี่ยงทำให้ประเทศเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะบ่อนคาสิโนและการเจรจาผลประโยชน์พลังงานแลกกับไม่มีหลักประกันจะรักษาเกาะกูดเอาไว้ได้

แม้แต่คำพูดตัวเองยังกล้าตระบัดสัตย์ แล้วยังมีหน้ามาการันตีจะไม่เสียดินแดน คนแบบนี้จะรักษาแผ่นดินได้อย่างไร”นายจตุพร กล่าว

พร้อมทั้งระบุว่า ทุกรัฐบาลผ่านมาไม่มีปัญหา MOU 44 เพราะไม่ได้บรรจุการเจรจาแหล่งพลังงานที่เกี่ยวข้องกับเกาะกูดไว้ในการแถลงนโยบายเร่งด่วนเหมือนรัฐบาลอุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทยไม่รู้แน่ชัดคือ จำนวนปริมาณพลังงานมีเท่าใดกันแน่ เพราะไม่เคยมีการสำรวจอย่างจริงเลย

นายจตุพร ย้ำว่า รัฐบาลอุ๊งอิ๊งต้องกล้าเปิดเผยสัญญายกสัมปทานพลังงานให้เชฟรอน เพราะภูมิรัฐศาสตร์ไม่เหมือนเดิม สถานการณ์มหาอำนาจเกิดเปลี่ยนแปลงปะทุขัดแย้ง การให้สัมปทานเมื่อปี 2515 ในยุคสงครามเย็น แล้วยังขยายอายุสัมปทานเป็นระยะ กระทั่งถึงวันนี้ยาวนานกว่า 50 ปี แต่การขุดสูบพลังงานออกมาใช้ยังไม่เคยเริ่มดำเนินการเลย

ดังนั้น ที่พูดกันมาเนื่องจากท่วงทำนองของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่คนไทยไม่สบายใจกับการเร่งรีบเจรจาแหล่งพลังงาน ไม่แตกต่างจากออกอาการด่วนตั้งบ่อนคาสิโนที่ทำลายคนในชาติ และสิ่งสำคัญ MOU 44 เป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงเสียดินแดนของไทยไปให้กัมพูชา

อย่างไรก็ตาม ไทยมีปมใจเรื่องการเสียดินแดนนับครั้งไม่ถ้วน จึงเปลี่ยนแปลงจากความรู้สึกไม่ได้ แม้ยอมรับประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้ แต่ปัจจุบันคนไทยไม่พร้อมจะสูญเสียดินแดนอีก ดังนั้น การเจรจาผลประโยชน์ทางทะเลที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์กัน ถ้าวันนี้เรามีเหตุจากวิกฤตน้ำมันไม่มีสักหยด และเราเป็นเจ้าของแหล่งพลงงานในสัดส่วนของเราเต็มๆ กันนี้ก็พอถูไถให้เร่งรีบหาผลประโยชน์เข้าประเทศได้

“หากเมื่อสูบน้ำมันในแหล่งของไทยออกมาใช้ได้ แล้วราคากลับไปอิงกับสิงคโปร์ทำให้ราคาสูง แล้วไทยได้อะไร ดังนั้น สัญญาสัปทานกับเชฟรอนจึงล้าสมัยไปแล้ว ทำไมไม่พูดเรื่องสัญญากันก่อนว่า ไทยต้องเสียเปรียบเรื่องใดบ้าง และมีหลักประกันให้ไทยได้ใช้น้ำมันราคาถูก แล้วพลังงานที่มีมูลค่า 10-20 ล้านล้านนั้น คนไทยได้สักกี่บาท”

อีกทั้งกล่าวว่า ถ้าไม่ชัดเจนเรื่องดินแดน โดยยังตกลงกันไม่เสร็จ กลับไปเอาผลประโยชน์จากแหล่งพลังงานก่อน เท่ากับยอมรับในเรื่องดินแดน ซึ่งเหมือนกับปัญหาปราสาทพระวิหาร ฉะนั้นควรตกลงเขตแดนให้เรียบร้อยก่อนและต้องไม่มีการสมยอมกันแบ่งครึ่งเกาะกูดอย่างเด็ดขาด

นายจตุพร กล่าวว่า ผู้นำกัมพูชามีความชัดเจนในเรื่องดินแดน เพราะประเทศเขาต่อสู้ปกป้องเอกราชดินแดนมาต่อเนื่อง ดังนั้น ดินแดนจึงเป็นแนวทางชาตินิยมให้ยึดถือเพื่อหลอมรวมเอกภาพการรักชาติของคนในชาติ เขาจึงไม่ยอมเสียเปรียบในเรื่องดินแดน ส่วนไทยกลับด้อยค่าคนรักชาติที่ปกป้องแผ่นดินว่า เป็นพวกคลั่งชาติ

สิ่งสำคัญ ไทยไม่มีเหตุผลใดที่ต้องรีบเร่งเจรจาผลประโยชน์แหล่งพลังงานก่อน แต่เราต้องปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาให้เรียบร้อยชัดเจนแล้วจึงเจรจาเรื่องผลประโยชน์พลังงานกัน หากเราไปยอมรับผลประโยชน์น้ำมันและก๊าซใต้ดินเท่ากับยอมรับสิ่งที่อยู่บนดิน นั่นเป็นหลักที่เขาได้ปักไว้แล้วกับปัญหาดินแดน ซึ่งจะนำพาให้ไทยไปสู่การเสียดินแดนซ้ำอีก ด้วยเหตุนี้ ตลอดเวลา 23 ปีจึงยังไม่จบ และเมื่อถอยไปอีก 50 ปีก่อนหน้านี้ก็ตกลงกันไม่ได้ เพราะแต่ละประเทศไม่ยอมเสียดินแดน

“วันนี้ ใครหน้าไหนมาการันตีว่าจะไม่เสียดินแดน เมื่อคำพูดของมันยังตระบัดสัตย์ ไม่รักษาคำพูด แล้วจะรักษาดินแดนได้อย่างไรกัน ดังนั้น คุณ (รัฐบาลเพื่อไทยกับผู้บ่งการอยู่เบื้องหลัง) ต้องฟังคนไทยบ้างในฐานะเป็นเจ้าของประเทศ เพราะผลประโยขน์ที่เร่งรีบเจรจาไม่ได้กับชาติบ้านเมือง แต่กลับมีโอกาสจะเสียดินแดน”

พร้อมทั้งย้ำว่า ใครที่ตระบัตสัตย์คำพูดตัวเองแล้ว อย่าไปปรามาสคนรักชาติที่ปกป้องดินแดนว่า พวกคลั่งชาติ เพราะเรามีปมใจในเรื่องเสียดินแดนมาตลอดตั้งแต่ยุคฝรั่งเศลล่าอาณานิคมในอินโดจีน แล้วขีดเส้นเขตแดนไทยจนเสียเปรียบเรื่องเขตแดนทั้งลาวและกัมพูชาอีกหลายพื้นที่ รวมทั้งเกาะกลางน้ำโขงในปัจจุบัน

นายจตุพร กล่าวว่า การเร่งรีบเจรจาผลประโยชน์พลังงานก่อนตกลงเรื่องเขตแดน เพราะบรรดานักการเมืองพ่อค้าทั้งหลายมีอาการตาโตกับผลประโยชน์อื่นใดที่ในสัญญาได้ตกลงไว้กับเชฟรอน จึงเห็นช่องว่างเป็นหนทางทำมาหากินกัน ซึ่งอาการตาโตเช่นนี้เป็นพฤติกรรมเร่งรีบที่สุ่มเสี่ยงกับการเสียแดนของไทยอย่างยิ่ง

อย่าได้มาอวดดีผูกขาดการรักชาติ คุณรักชาติอะไรกัน แล้วไปใส่ไว้ในนโยบายเร่งด่วนทำไม เหมือนเรื่องที่กำลังรีบด่วนอีกในการตั้งแต่คนการเมืองเป็นประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) แบงก์ชาติ จนอดีตผู้ว่าธนาคารแห่งชาติ 4 คนออกมายืนกรานคัดค้านและต่อต้าน