การเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร 22 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ ตัวแปรสำคัญที่จะตัดคะแนนเสียงคงมิใช่การพูดถึงเพียงแค่คะแนนฝั่งอนุรักษ์นิยม หรือ ฝั่งก้าวหน้า เพียงอย่างเดียว หากแต่นั้นหมายถึงการหาเสียงอย่างมีกลยุทธ์ การเจาะเขตฐานเสียงที่มีประชากรหนาแน่นถือเป็นสิ่งสำคัญในการพลิกกลับมาชนะได้สำหรับผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,374,131 ราย แบ่งเป็นชาย 1,996,104 ราย หญิง 2,378,027 ราย
17 เขต ตัวแปรที่สามารถเป็นตัวชี้วัดคะแนนผลแพ้ชนะของผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานครและฐานคะแนนนิยมของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งปี 2562 ดังนี้
เขตสายไหม 161,186 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (น.อ.อนุดิษฐ์นาครทรรพ)
เขตคลองสามวา 157,231 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (นายจิรายุห่วงทรัพย์)
เขตบางแค 155,429 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรค อนาคตใหม่ ปัจจุบันสังกัดพรรคก้าวไกล (นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ)
เขตบางเขน 150,172 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (นายอนุสรณ์ปั้นทอง)
เขตบางขุนเทียน 141,187 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันสังกัดพรรคก้าวไกล (นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์)
เขตประเวศ 138,552 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ (นายประสิทธิ์ มะหะหมัด) ยกเว้นแขวงหนองบอนและแขวงดอกไม้ และพรรคอนาคตใหม่ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทยเฉพาะแขวงหนองบอนและแขวงดอกไม้ (นายมณฑล โพธิ์คาย)
เขตลาดกระบัง 137,585 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์)
เขตหนองจอก 134,444 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ (นายศิริพงษ์ รัสมี)
เขตดอนเมือง 132,724 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (นายการุณโหสกุล)
เขตจตุจักร 126,121 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ (นางสาวภาดาท์ วรกานนท์) เฉพาะแขวงจตุจักร และแขวงจอมพล และพรรคเพื่อไทย ยกเว้นแขวงจตุจักร และแขวงจอมพล (นายสุรชาติ เทียนทอง)
เขตหนองแขม 122,459 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (นายวัน อยู่บำรุง) เฉพาะแขวงหนองแขม และพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันสังกัดพรรคก้าวไกล ยกเว้นแขวงหนองแขม (นายจิรวัฒน์อรัณยกานนท์)
เขตจอมทอง 117,311 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย (นายโชติพัฒน์ เตชะโสภณมณี)
เขตบางกะปิ 114,685 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ (นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์)
เขตบึงกุ่ม 112,793 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ)
เขตมีนบุรี 108,517 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ (นายชาญวิทย์ วิภูศิริ)
เขตบางซื่อ 100,454 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ (นางสาวธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ โดยปัจจุบันหยุดปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากคำสั่งของศาลฯ)
เขตภาษีเจริญ 100,264 ราย เจ้าของพื้นที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ พรรคเพื่อไทย (นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา)
พื้นที่ 17 เขต ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการวัดผลผู้ว่า “เสาชิงช้า” ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ สังเกตได้ว่า พื้นที่ในกว่า 17 เขตที่กล่าวมานั้นต่างเป็นเขตที่มีเจ้าของพื้นที่พรรคการเมือง การมีสนับสนุนจากแรง ส.ส. และฐานความนิยมเดิมจึงอาจช่วยเพิ่มคะแนนสำหรับผู้ว่าเมืองกรุงที่สังกัดพรรคและอิสระซึ่งมีแรงหนุนจากพรรคการเมือง โดยสำหรับบางเขตที่มีฐานคะแนนนิยมเข้มแข็ง อย่าง เขตหนองแขม เขตคลองสามวา เขตดอนเมือง หรือแม้แต่เขตหนองจอก เป็นต้น
.
ที่มา
– มติชนออนไลน์,ส่องโหวตเตอร์ กทม. แต้มตัดสินผู้ว่าฯ (กราฟิก มติชน), https://www.matichon.co.th/politics/news_3270016
– วิกิพีเดีย,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร, https://th.wikipedia.org/wiki/สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร