สองมาตรฐาน

คำว่า “สองมาตรฐาน” ถูกใช้อย่างแพร่หลายในช่วงการชุมนุมของคนเสื้อแดงปี 2552-2553 โดยเป็นการประชดประชันกระบวนการยุติธรรมของไทย ว่าเลือกปฏิบัติ เข้าข้างอีกฝั่งและกดหัวอีกฝั่ง

หลายคดีความถูกหยิบยกขึ้นมาเปรียบเทียบกัน เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพของคำว่า “สองมาตรฐาน” เช่น กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ถูกยุบ ในคดีเงินบริจาคบริษัท ทีพีไอ โพลีน ผ่านบริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำนวน 258 ล้านบาท

โดยปี 2553 ยังมีกรณี “เขายายเที่ยง” ที่สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) สั่งไม่ฟ้อง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี คดีบุกรุก โดยให้มีการรื้อถอนเป็นอันจบกัน

ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์ประจําคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยกล่าวไว้ว่า ปัญหาสองมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรมไทยน้ัน มิได้เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาด ของตัวบทกฎหมาย แต่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย โดยผู้ที่มีอํานาจในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าท่ีรัฐเลือกท่ีจะใช้อํานาจหรือดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด กับบุคคลหน่ึงบุคคลใดหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดท่ีแตกต่างกัน ภายใต้กฎหมายหรือกฎเกณฑ์เดียวกัน รวมถึงการที่ผู้มีอํานาจท่ีมีหน้าที่จะต้องดูแลเรื่องต่างๆ ได้ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าท่ีด้วย

ศาสตราจารย์วีระพงษ์ บุญโญภาส คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยกล่าวว่า สําหรับสังคมไทย ซึ่งมีวัฒนธรรมท่ีเป็นระบบอุปถัมภ์ กระบวนการยุติธรรมนอกจากจะเป็นไปตามทฤษฏีควบคุมอาชญากรรม และทฤษฎีกระบวนการยุติธรรมแล้ว ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งคือ “ทฤษฎีใบสั่ง” ซึ่งเป็นการดําเนินกระบวนการที่ขาด อิสระและมิได้เป็นไปตามกฎหมายอย่างแท้จริงโดยผู้ได้รับการปฏิบัติ ตามทฤษฎีดังกล่าวย่อมจะต้องมีท้ังฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจากผลกระทบท่ีได้รับ

ศาสตราจารย์วีรพงษ์ ยังยกตัวอย่างกฎหมายฉบับเดียวกัน แต่มีการปฏิบัติท่ีแตกต่างกันมีหรือไม่ เช่น บุคคล 2 กลุ่มบุกยึด สถานที่ราชการเหมือนกัน ทําไมกลุ่มหนึ่งถูกหมายเรียก แต่อีกกลุ่ม ถูกหมายจับ เป็นต้น

ในกระบวนการสร้างความปรองดอง การบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม เป็นหัวใจสำคัญในการทางออกของประเทศ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เคลือบแคลงสงสัย ไม่ไว้ใจกระบวนการยุติธรรม ความสงบ สมานฉันท์ ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้

#newsxtra #เกาะติดปรองดอง