Amazon เจ้าพ่อวงการไอทียักษ์ใหญ่ของโลก ประกาศปลดพนักงานเพิ่มอีก 9,000 ตำแหน่ง ทำให้ในรอบปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ 2022 ได้ทำการปลดพนักงานไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 27,000 ตำแหน่ง
แอนดี้ จาสซี่ ซีอีโอของบริษัท ได้ร่อนจดหมายถึงพนักงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น ว่าจะมีการปลดพนักงานเพิ่มในหลายส่วนงาน ไม่ว่าจะเป็น Amazon Web Service ที่ให้บริการเรื่องเซิฟเวอร์ ฝ่ายโฆษณา Twitch TV ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มสตรีมมิ่ง และส่วนงานทรัพยากรบุคคล
แม้จะมีการปลดพนักงานจำนวนถึง 9,000 คน แต่ก็นับได้ว่าเป็นสัดส่วนไม่ถึง 1% ของการจ้างงานทั้งหมดที่บริษัทมี เพราะว่า Amazon เองมีการจ้างงานอยู่ 1.5ล้านตำแหน่ง และด้วยเหตุที่ว่าในปี 2022 บริษัทขาดทุนถึง 2.7พันล้านเหรียญสหรัฐ จากที่เคยกำไรในปีก่อนหน้า 30,000ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้การเลิกจ้างานจำนวนหนึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้
“หลายปีที่ผ่านมาส่งผลให้เรามาถึงจุดนี้ในวันนี้ ธุรกิจกำลังเผชิญหน้ากับความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ และเราไม่รู้อนาคต นั่นจึงทำให้เราเลือกทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบริษัท” ซีอีโอของ Amazon กล่าว
นี่เป็นการปลดพนักงานอีกระลอกของ Amazon หลังจากที่นับตั้งแต่เดือนพฤศิจกายนปีที่ผ่านมา ยักษ์ใหญ่วงการไอทีได้ทำการปลดพนักงานมาแล้วกว่า 2หมื่นราย
อย่างไรก็ดี แม้ว่าวงการไอทีกำลังเผชิญหน้ากับกระแสการลดขนาดการจ้างงานขนานใหญ่ แต่สัดส่วนที่ Amazon ปลดไปนั้นนับได้ว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบในเชิงสัดส่วนกับยักษ์ใหญ่ไอทีเจ้าอื่น ๆ เช่น Meta เจ้าของ Facebook หรือ Zoom หรือ DELL ที่ปลดพนักงานไปจำนวนไม่น้อยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ Meta ที่ปลดพนักงานไปกว่า 1 ใน 3 ของที่มีอยู่
การปลดพนักงานในวงการไอที ถูกให้เหตุผลมาจากสองเรื่อง หนึ่งก็คือภาระที่แบกรับมาตั้งแต่เกิดวิกฤตการระบาดของโควิด-19 อันส่งผลให้รายได้ถดถอย และต่อมาคือภาวะหลังโควิด-19 ที่เศรษฐกิจไม่มั่นคงและขาดเดาไม่ได้ ส่งผลต่อแผนธุรกิจและการหารายได้ของบริษัทต่าง ๆ
แม้จะมีการปลดพนักงาน แต่ถ้าพิจารณาจากการะบวนการและถ้แยแถลงของทาง Amazon แล้ว ก็จะพบว่า การปลดพนักงานครั้งนี้ ถึงจะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายอย่างแน่นอน แต่เป็นการปลดพนักงานในส่วนงานที่ได้ทำงานโครงการต่าง ๆ “เสร็จแล้ว” และไม่มีเหตุให้ใช้งานพนักงานเหล่านั้นอีกต่อไป มากกว่าที่จะเป็นการสุ่มปลดหรือใช้เงื่อนไขอื่น ๆ พิจารณา Amazon ยังมีพนักงานในส่วนงานอีกมากมายที่ยังคงต้องทำงานต่อไป และพนักงานเหล่านั้นคือ “ส่วนใหญ่” ของบริษัท
ที่มา